การนั่งสมาธิมีผลต่อคลื่นสมองจริงหรือไม่

การนั่งสมาธิ
Categories:

เป็นคำถามสำหรับใครหลายๆคนเมื่อเราได้ยิน เรื่องราวเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ที่มีความสําคัญและส่งผลทางด้านที่ดีต่อคลื่นสมอง รวมไปถึงสภาพจิตใจและฟื้นฟูร่างกาย ในส่วนของการนั่งสมาธิกับคลื่นสมองนั้นมีผลซึ่งกันและกัน โดยมีงานวิจัยรับรองอย่างชัดเจน โดย งานวิจัยของ K.Kijsarun Chanpo ซึ่งได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการทำสมาธิกับการสวดมนต์กับ นิสิตจุฬาฯจำนวน 60 คน โดย ให้นิสิตสวดมนต์ 30 คนและทำสมาธิ 30 คนเป็นชายและหญิงอย่างละ 15 คน และได้มีการวัดคลื่นสมองธีรพลขนาดสวดมนต์ 30 นาที กับผู้ที่ทำสมาธิ 30 นาที

โดยในขณะที่ทำการบันทึกการทำงานของสมองตลอดระยะเวลา 30 นาทีของผู้ที่สวดมนต์ เป็นการบันทึกที่ละคนจนครบทั้งหมด 30 คนได้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ ในช่วง 0-5 นาทีแรกติดยังคงไม่นิ่งกระทั่งเมื่อคืนนาทีที่ 5 ถึง 10 และ 11 ถึง 15 ทีละ 5 นาที ไปเรื่อยๆจนถึงนาทีที่ 25 ถึง 30 คลื่นสมองจะบอกถึงการดิ่งของจิตที่สงบนิ่งจนต่อเนื่อง ไปจนถึงหลังการทดลองอีกระยะหนึ่ง

ในส่วนของการวัดผลจากการทำสมาธิจะได้ผลดีที่สุดตั้งแต่นาทีที่ 0 ถึง 5 แล้วเมื่อเข้านาทีที่ 5 ถึง 10 นาทีที่ 10 ถึง 15 นาทีละ 5 นาทีไปจนกระทั่งจบการทดลองจิตยังคงจะไม่นิ่งคลื่นสมองจึงไม่นิ่งตามเป็นผลเนื่องมาจากนิวรณ์ 5 ซึ่งมาเป็นเครื่องขัดสมาธิได้อย่างง่ายดาย หลายคนไม่สามารถทำสมาธิได้ ด้วยอาการต่างๆไม่ว่าจะเป็น ปวดขาอาการตะคริวกิน จิตใจพะวักพะวงกังวลคิดเรื่องต่างๆ ที่เรียกว่าเป็นนิวรณ์ 5 ทำให้เราไม่สามารถจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ดังนั้นเพื่อให้เกิดสมาธิที่ดีจึงจำเป็นต้องมีการฝึกฝนสม่ำเสมอจะช่วยกำจัดนิวรณ์เหล่านี้ได้ทีละเล็กทีละน้อย

การทดลองเรื่องนี้ มีผลสอบคล้องกับมาตรฐานเรื่องสัญญาณคลื่นสมอง Alpha จะมีการผ่อนคลายขึ้นเมื่อหลับตาลงซึ่งเป็นช่วงที่ดีที่สุดในระยะแรก หมายความว่าถ้าหากสวดมนต์ก่อนทำสมาธิจะทำให้เรามีสมาธิได้ง่ายขึ้นมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำสอดคล้องควบคู่กันไปทั้ง 2 อย่าง จิตใจเราจะจดจ่ออยู่กับบทสวดมนต์ตลอดเวลาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมองคลื่นอัลฟาเกิดขึ้นและยังคงอยู่ต่อเนื่องไปได้จนกระทั่งถึงการ นั่งสมาธิในช่วง 5 นาทีจะทำให้เราเข้าสู่สมาธิได้อย่างต่อเนื่องฝึกแบบนี้บ่อยๆจะทำให้เราสามารถกำจัดนิวรณ์ 5 และเป็นผู้ที่สามารถทำสมาธิได้อย่างดี

การที่เราสามารถนั่งสมาธิหรือเจริญสมาธิได้ดีถึงระดับหนึ่งคลื่นสมองจะคลายความถี่เป็นคลื่นธีต้า ผู้ที่ทำสมาธิถึงขั้นนี้ได้จะรู้สึกผ่อนคลายไม่มีเรื่องเครียด และไม่วุ่นวายใจ จิตใจจะเข้มแข็งดังปรารถนา หลายคนที่นั่งสมาธิปฏิบัติภาวนาเป็นระยะเวลานานได้จึงค่อนข้างมีจิตใจที่สงบนิ่ง และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยความนิ่งและใจเย็น ที่เราเรียกว่ามีสตินั่นเอง